บล็อก

แนวคิดต่อความสะดวกสบายที่กำลังมา

มิถุนายน 27th, 2022 | ข่าว Mintel |

โดย Huiqi Ong นักวิเคราะห์ด้านไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค

เนื่องจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเงิน ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกจึงโอบรับแนวคิดที่จะอยู่กับความขาดแคลนอย่างไรให้ได้มากขึ้น จากรายงานการวิจัยของ Mintel Global Consumer เกี่ยวกับผู้บริโภคแบบองค์รวม พบว่า 2 ใน 3 ของผู้บริโภค* กล่าวว่า พวกเขามีงบจำนวนหนึ่งที่พวกเขาจะต้องพยายามใช้มันให้ได้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้

ในช่วงที่ต้องรัดเข็มขัดการเงิน แนวคิดเรื่องความสะดวกมีการพัฒนามากไปกว่าความสะดวกที่เข้ามาช่วยประหยัดเวลาหรือสามารถใช้งานได้ง่าย แบรนด์ต่าง ๆ สามารถเริ่มสำรวจแนวคิดด้านความสะดวกด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่มีราคาไม่แพงที่สามารถเข้ามาช่วยให้ชีวิตการเป็นอยู่ของผู้บริโภคง่ายขึ้น และนี่จะเป็นตัวพิสูจน์คุณค่าของแบรนด์ที่อาจเพิ่มขึ้นได้ในสายตาผู้บริโภค

ช่วยผู้บริโภคในการวางแผน

แบรนด์สามารถออกผลิตภัณฑ์และบริการที่ช่วยขจัดความยุ่งยากในการวางแผนแก่ผู้บริโภค ซึ่งสอดคล้องไปกับ Mintel Trend ในเรื่อง Help Me Help Myself แม้ผู้บริโภคจะต้องการตัดสินใจในสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตนเอง แต่ไม่มีตัวช่วยใดที่จะมารองรับทุกความคิดและแบกรับการตัดสินใจของพวกเขาได้ตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม การครอบครองสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์ดิจิทัลอื่น ๆ ได้กลายเป็นเครื่องมือให้เหล่าผู้บริโภคใช้เพื่อเข้าถึงเทคโนโลยีที่จะมาช่วยให้ชีวิตและไลฟ์สไตล์ในแต่ละวันของพวกเขาดำเนินไปได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

บริการทางการเงินที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี อย่างเช่น แทรคเกอร์ติดตามการใช้จ่ายและการลงทุนบนมือถือได้รับการตอบรับอย่างดีจากกลุ่มประชากรอายุน้อย ซึ่งรวมถึงกลุ่มมิลเลนเนียลที่เป็นกลุ่มเพิ่งเริ่มใช้ชีวิตและเริ่มมีไลฟ์สไตล์อิสระ แม้พวกเขาจะมีเวลาจำกัดในแต่ละวัน พวกเขาเองก็ต้องการที่จะใช้ชีวิตอย่างมีความรับผิดชอบ โดยในประเทศสิงคโปร์พบว่า ผู้บริโภค 9 ใน 10 คนที่มีอายุระหว่าง 25-34 ปีมีการใช้แท็บเล็ต แล็ปท็อป หรือเดสก์ท็อปเพื่อจัดการและบริหารเรื่องการเงิน**

หนึ่งตัวอย่างน่าสนใจอย่างการคอลแลปส์ระหว่าง GCash กับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย Kumu ได้เปิดตัวแคมเปญ #PlsSaveMe GCash ซึ่งเป็นบริการกระเป๋าเงินเสมือนภายใต้การให้บริการของ Globe Telecom ผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ของประเทศฟิลิปปินส์ได้ทำงานร่วมกับ Kumu เพื่อส่งเสริมสุขภาพทางการเงินของผู้บริโภค โดยแคมเปญจะเน้นฟีเจอร์ประหยัดเงินของ GCash ว่าจะสามารถช่วยผู้บริโภคบริหารค่าใช้จ่ายให้ดียิ่งขึ้นได้อย่างไรบ้าง ซึ่งผลิตภัณฑ์ทางการเงินดังกล่าวถูกสร้างขึ้นและเป็นที่รู้จักในผลิตภัณฑ์และบริการที่มีอยู่แล้ว ส่งผลให้ผู้คนรู้สึกคุ้นเคยและกล้าที่จะหันมาใช้บริการอย่างง่ายดาย อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการใช้ตัวแคมเปญไปโดยปริยายอีกด้วย

แคมเปญ #PlsSaveMe (แหล่งที่มา: Facebook/Kumu)

มอบทางเลือกแห่งความยั่งยืนในราคาที่เอื้อมถึง

ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกยังคงมีความกังวลต่อการดำเนินชีวิตแบบยั่งยืน โดยมากกว่า  1 ใน 3 ของผู้บริโภคชาว APAC กล่าวว่าพวกเขาพยายามที่จะใช้ชีวิตในในลักษณะที่ไม่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม และในขณะเดียวกัน ผู้บริโภคในภูมิภาคนี้เองยังแสดงความสนใจต่อการใช้ชีวิตที่ส่งเสริมความยั่งยืนมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย แม้ผู้บริโภคหลายคนมักถูกโยนความคิดที่ว่าความยั่งยืนนั้นมีราคาแพง นี่แหล่ะเป็นโอกาสทองสำหรับแบรนด์ในการให้ความรู้ใหม่แก่ผู้บริโภค

แบรนด์สามารถนำบทสนทนาในประเด็นดังกล่าวด้วยการแสดงให้ผู้บริโภคเห็นว่า การสร้างของเสียให้น้อยลงสามารถนำไปสู่การประหยัดในระยะยาวได้มากขึ้นอย่างไรบ้าง ตัวอย่างเช่น การซื้ออุปกรณ์จัดเก็บที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่อย่างฝาซิลิโคนและถุงอาหารแบบปิดผนึกได้ นั่นหมายความว่าผู้บริโภคจะซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวน้อยลง เช่น พลาสติกจำพวกฟิล์มห่ออาหาร ฯลฯ

การใช้ฝาปิดชามแบบซิลิโคนเท่ากันการลดใช้แผ่นฟิล์มห่ออาหาร (แหล่งที่มา: Instagram/Kappi.life)

ยกระดับความสะดวกสบายให้กลายเป็นหนึ่งเดียวกับไลฟ์สไตล์

ในขณะที่ผู้บริโภคค่อย ๆ เริ่มกลับเข้าสู่การใช้ชีวิตเหมือนก่อนโรคระบาด บทเรียนรู้เกี่ยวกับสุขภาพทางการเงินในช่วงสองปีที่ผ่านมาจะยังคงอยู่ สำหรับการต่อยอดการใช้ประโยชน์จากความสะดวกสบายสู่ขั้นต่อไป แบรนด์ต่าง ๆ ควรคำนึงถึงการทำให้สินค้าและบริการของตนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตของผู้บริโภค แทนการเป็นเพียงผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีประโยชน์เพียงความง่ายต่อการใช้งานแต่เพียงเท่านั้น

ตามแบบสำรวจในรายงานแนวโน้มผู้บริโภคระดับโลกของ Mintel ปี 2022 กับหัวข้อ Enjoyment Everywhere ผู้บริโภคต่างมองหาวิธีที่พวกเขาจะสามารถพักผ่อนอย่างเต็มที่เพื่อต่อสู้กับความกังวลและความเครียดที่เกิดจากการระบาดใหญ่ไปทั่วโลก รวมไปถึงสถานการณ์ความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เราสามารถรอเห็นได้เลยว่าจะมีผู้บริโภคที่ยินดีจ่ายเงินให้กับแบรนด์ที่แสดงออกถึงความพยายามและความใส่ใจในการรังสรรค์ผลิตภัณฑ์ของตนขึ้นมา หรือแม้กระทั่งแบรนด์ที่สามารถนำความสนุกมาสู่โต๊ะอาหารได้ เราพบว่า ผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเกือบ 4 ใน 5 กล่าวว่าพวกเขาแสวงหาความสนุกสนานในทุกแง่มุมของชีวิต

แคตตาล็อกสินค้าของ IKEA ประเทศไต้หวันแปลงโฉมด้วยการนำ Animal Crossing มาร่วมในเนื้อหา (แหล่งที่มา: Facebook/IKEA Taiwan)

ยกตัวอย่างเช่น แคตตาล็อกของ IKEA ในประเทศไต้หวันที่นำเกมสุดฮิตแห่งปีอย่าง Animal Crossing มาจับคู่ออกแบบห้องด้วยดีไซน์สุดเก๋กับเฟอร์นิเจอร์ของ IKEA การโปรโมทดังกล่าวผนวกความสนุกที่จะมาดึงดูดผู้บริโภคที่อาจรู้สึกเครียดหรือมีความกังวลให้รู้สึกดีขึ้นได้ อีกทั้งการประยุกต์สินค้าต่าง ๆ ของ IKEA แสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ของพวกเขาสามารถประยุกต์เข้าหาชีวิตของผู้บริโภคได้อย่างดีและไร้ที่ติ

พวกเราคิดว่า

ผู้บริโภคจะยังคงแสวงหาความสะดวกสบายในชีวิตประจำวันที่แสนวุ่นวายของพวกเขาต่อไป แม้ในขณะเดียวกัน พวกเขาเองก็จะหันเข้าหาผลิตภัณฑ์และบริการที่มอบราคาที่เอื้อมถึงที่สามารถช่วยพวกเขาให้ผ่านพ้นช่วงเวลาอันยากลำบากไปได้ การเติบโตของบริการระบบดิจิทัลจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการยกระดับความสะดวกสบายให้สูงขึ้นอีกระดับในรูปแบบที่กว้างกว่าเดิม โดยสิ่งเหล่านี้จะเข้ามาช่วยให้ผู้บริโภคเพลิดเพลินไปกับประสบการณ์ที่พวกเขาอาจสูญเสียหรือพลาดไปในช่วงการระบาดใหญ่นั่นเอง

หากท่านต้องการทราบข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้บริโภคคาดหวังและเหตุผลเบื้องหลังเมื่อกล่าวถึงความสะดวกและวิธีใดที่แบรนด์สามารถวางแผนล่วงหน้าไว้ก่อนได้บ้าง สามารถติดตาม พอดแคสต์ Little Conversation S3E78 ของ Mintel ได้บน Spotify หรือช่องทางใดก็ตามที่สามารถเข้าถึงพอดแคสต์ได้

*ค่ามัธยฐานของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวน 13,000 คนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 13 ตลาดในภูมิภาค APAC (ได้แก่ประเทศออสเตรเลีย, จีน, ฮ่องกง, จีน, อินเดีย, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, นิวซีแลนด์, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, เกาหลีใต้, ไทย, เวียดนาม); เดือนมีนาคม ปี 2565

**239 ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวสิงคโปร์ที่เป็นเจ้าของแท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์แล็ปท็อป หรือมีคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปที่บ้าน (เทียบกับ 921 ของตัวอย่างทั้งหมด); เดือนมีนาคม 2565