บล็อก

Mintel รวมเทรนด์ผู้บริโภคระดับโลกประจำปี 2564

มีนาคม 16th, 2021 | ข่าว Mintel |

บริษัทวิจัยการตลาดระดับโลก มินเทล (Mintel) ได้ทำบทสรุปการตลาดผู้บริโภคเผยแพร่ 7 เทรนด์ผู้บริโภคระดับโลกประจำปี 2564 พร้อมทั้งเสนอแบบรายงานผลการวิเคราะห์และรายละเอียดการตลาดเชิงลึก ชี้แนวทางการทำการวิเคราะห์ตลาดพฤติกรรมผู้บริโภค การเปลี่ยนแปลงของตลาดตามแต่ละช่วง นวัตกรรมของแบรนด์ต่าง ๆ และโอกาสการพัฒนาบริษัท รวมไปถึงแบรนด์ต่างๆ ในอีก 12 เดือน

  • สุขภาพดีได้แบบไม่มีกำหนด: คู่มือการใช้ชีวิตดีๆ มันไม่มีหรอก แต่ความเป็นอยู่ที่ดีนั้นก็เป็นสิ่งแรกๆ ที่ผู้บริโภคนึกถึง เพราะฉะนั้น นี่จึงเป็นหน้าที่ของแบรนด์ที่จะใช้โอกาสนี้ในการเสนอรูปแบบการใช้ชีวิตที่ดีแก่ผู้บริโภคทั้งหลาย
  • เสียงจากผู้บริโภคส่วนรวม: ผู้บริโภคทั่วโลกต่างสนับสนุนและได้มีการออกมาผลักดันสนับสนุนหน่วยงาน สิทธิและความเท่าเทียมในสังคม รวมตัวกันเพื่อที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงในสังคมไปในทิศทางที่ดีขึ้น
  • ลำดับความสำคัญที่เปลี่ยนไป: ผู้บริโภคหลากหลายแห่งต่างมองหาการบริโภคที่เน้นในเรื่องของความจำเป็นเป็นหลัก โดยมองถึงความเป็นอิสระจากการเป็นเจ้าของทรัพย์สินต่างๆ อันเป็นการสร้างนิยามใหม่สำหรับทัศนคติของการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน
  • เดินหน้าไปด้วยกัน: ผลจากการระบาดครั้งใหญ่ของไวรัสโควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคและชุมชนต่างๆ เริ่มหันมาร่วมมือและช่วยเหลือกันและกัน
  • ชีวิตเสมือนจริง: การเว้นระยะห่างในช่วงของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 กลายเป็นการสร้างสังคมของผู้บริโภคให้กลายเป็นการใช้ชีวิตในโลกดิจิตอลเป็นส่วนใหญ่ เสมือนเป็นจุดพักผ่อนกายและใจ
  • พื้นที่ที่เต็มไปด้วยความยั่งยืน: การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ผันเปลี่ยนลักษณะการใช้ชีวิตของผู้บริโภค โดยเริ่มหันมาเน้นการอยู่แบบยั่งยืนมากขึ้น
  • วิกฤตการณ์จากสื่อดิจิตอล: ถึงแม้ว่าการใช้ชีวิตในโลกดิจิตอลจะส่งผลประโยชน์มากมายในการดำเนินชีวิต ผู้บริโภคในปัจจุบันต่างเริ่มหันมาสนใจในเรื่องของผลกระทบด้านลบจากการใช้สื่อดิจิตอล

คุณแมธธิว แครบ ผู้อำนวยการของมินเทล ด้านเทรนด์ประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ได้กล่าวถึง ลักษณะและวิธีการพัฒนาของเทรนด์ต่างๆ  ตลอดจนถึงความสำคัญต่อแบรนด์และผู้บริโภคภายในปี 2564 ว่า

ในฐานะที่เราเป็นบริษัทชั้นนำของโลกด้านข้อมูลตลาด Mintel จึงมีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคและแสดงรายละเอียดความสำคัญของตลาดผู้บริโภคต่อแบรนด์ต่างๆ ในปีที่แล้ว เราได้มีการจัดทำรายงาน  Global Consumer Trends 2030 ขึ้น โดยมีจุดประสงค์ที่จะสร้างและพัฒนารูปแบบการวิเคราะห์คาดการณ์ตลาดเทรนด์ที่ผันเปลี่ยนตลอดเวลา มาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ในอนาคต โดยรูปแบบการวิเคราะห์นี้อาจจะช่วยเสริมสร้างทิศทางการเคลื่อนไหวของเทรนด์ให้มาเร็วมาแรงหรือทำให้ช้า ยืดระยะเวลาออกนานขึ้น ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละตลาด ซึ่งข้อมูลต่างๆ นี้ไม่เพียงแต่จะช่วยให้เราปรับตัวหรือรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น หากแต่ยังช่วยให้ลูกค้าของเรามีเวลาในตั้งรับ และมองหาจุดโฟกัสที่เราในฐานะมนุษย์นี้ต้องการจะเน้นหรือหลีกเลี่ยงในอนาคต

บทวิเคราะห์ใหม่ในปี 2021 ของเรา นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบปัจจัยการขับเคลื่อนเทรนด์ทั้ง 7 ของมินเทล รวมไปถึงเสาหลักในการขับเคลื่อนเทรนด์ โดยการเปลี่ยนแปลงในแง่ความคิดของเหล่าผู้บริโภคและการตอบสนองจากแบรนด์นั้น เป็นการบ่มเพาะปัจจัยการขับเคลื่อนเทรนด์ต่างๆ ที่ซึ่งถูกนำมาพิจารณาควบคู่กับการเปลี่ยนแปลงทางนามธรรมและรูปธรรมที่เกิดขึ้นจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 แบรนด์ต่างๆ จึงสามารถสร้างวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ให้โดนใจผู้บริโภคเหล่านี้ได้ เพื่อตอบสนองความพยายามในการสร้างอนาคตที่ดีขึ้นตามที่ผู้บริโภคทั่วโลกต้องการ

สุขภาพดีได้แบบไม่มีกำหนด

ผู้บริโภคทุกวันนี้กำลังมองหาวิถีความเป็นอยู่แบบใหม่จากทุกๆ ด้านของชีวิต เพื่อที่จะสร้างเสริมประสบการณ์คุณภาพชีวิต และสุขภาพที่ดีให้กับตัวเองมากขึ้น ซึ่งมุมมองดังกล่าวนี้ เกิดขึ้นจากความรู้สึกไม่มั่นคงในชีวิตปัจจุบันที่คนส่วนใหญ่ประสบพบเจอ เหตุการณ์เหล่านี้ได้ขับเคลื่อนความต้องการความรู้สึกอุ่นใจและชีวิตที่มีระเบียบแบบแผนของผู้บริโภคอย่างมากขึ้นในปัจจุบัน

สำหรับแบรนด์ที่ตั้งเป้าจะปรับลักษณะภาพลักษณ์และโครงสร้างใหม่ โอกาสการสร้างตลาดดึงดูดผู้บริโภคมาสู่แบรนด์ของตนนั้น นอกจากการเน้นการขายผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการที่เน้นไปในด้านคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แบรนด์ควรคำนึงถึงการสร้างความรู้สึกนึกคิดของผู้บริโภค ให้เห็นถึงความสำคัญของคุณค่าภายในตนและพลังกำลังแรงในการลองสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ

เสียงจากผู้บริโภคส่วนรวม

ความคิดส่วนรวมในสังคม (Collective Mentality) ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นั้นได้มีการกระตุ้นทัศนคติของผู้บริโภค ให้เห็นถึงความสำคัญของความคิดในเชิงการอยู่รวมกันมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้ยังได้เกิดขึ้นกับสังคมที่มีวัฒนธรรมความเป็นปัจเจกสูง (Traditional individualistic culture) อีกด้วย โดยกระแสดังกล่าวยังส่งเสริมให้มีการช่วยเหลือและเกื้อกูลกันมากขึ้น ยกตัวอย่าง เช่น การเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้กับคนผิวสี (Black Lives Matter Movement) และการเรียกร้องเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก (Global Climate Strike) นับได้ว่าเป็นการเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นทั้งต่อไปในอนาคตแก่มนุษยชาติและสิ่งแวดล้อมบนโลก

แบรนด์มีโอกาสที่จะที่จะใช้ความเป็นผู้นำในการพูดถกประเด็นถึงปัญหาเหล่านี้  ในทางตรงกันข้าม การเพิกเฉยต่อปัญหาต่างๆ ในสังคมอาจจะนับเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าของแบรนด์ก็เป็นได้

ลำดับความสำคัญที่เปลี่ยนไป

ผู้บริโภคทั่วโลกกำลังพบเจอกับเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน พร้อมกับความรู้สึกที่ย้อนแย้งกันระหว่างความอ่อนแอรู้สึกไม่ปลอดภัย และความพยายามในการอดทนกับสถานการณ์ในปัจจุบัน กระนั้น ผู้บริโภคในปัจจุบันจึงได้เริ่มตระหนักและสำรวจการใช้จ่ายของตน พร้อมควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างอื่นที่ไม่จำเป็น เป็นอันสรุปได้ว่า ผู้บริโภคเหล่านี้ไม่ได้มองหาแค่ความสะดวกสบายในการจับจ่ายใช้สอย เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่พวกเขายังคิดไปถึงเรื่องของความปลอดภัย การป้องกันปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดตามมา รวมถึงความทนทานของผลิตภัณฑ์และคุณภาพบริการต่างๆ อีกด้วย

นี่จึงเป็นโอกาสของแบรนด์ธุรกิจต่างๆ ที่จะสร้างและปรับเปลี่ยนธุรกิจให้ของตนให้เป็นไปตามเทรนด์ดังกล่าว เพื่อพิสูจน์ว่าพวกเขาสามารถมอบสิ่งที่คุ้มค่าและผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมแก่ผู้บริโภคได้

เดินหน้าไปด้วยกัน

การระบาดของไวรัสโควิด-19 ถือเป็นสิ่งที่ช่วยฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่อย่างเป็นชุมชน อันเป็นเพราะผู้บริโภคหลากหลายแห่ง ต่างโหยหามนุษยสัมพันธ์กับปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมโลกมากเป็นพิเศษกว่าที่เคย ทั้งนี้ ในสังคมของเรายังมีผู้คนมากมายทั่วโลกที่ยังอยู่ใต้เคอร์ฟิว ต้องกักตัวในที่พักอาศัย ได้แต่มองสภาพแวดล้อมจากระยะไกล นี่จึงเป็นจุดไฮไลท์ของความสำคัญของความเป็นชุมชนอันหนึ่งเดียวกัน

ทัศนคติและความเข้าใจถึงความสำคัญของชุมชนอันเป็นสิ่งที่ช่วยในเอาชนะความโดดเดี่ยว เป็นโอกาสที่ดีสำหรับธุรกิจแบรนด์ต่างๆ ที่จะสร้างอัตลักษณ์ผู้บริโภคและวิธีการใหม่ๆ ที่จะสนับสนุนซึ่งกันและกันผ่านจากคอนเซ็ปต์ของแบรนด์

ชีวิตเสมือนจริง

ด้วยผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 และนวัตกรรมเทคโนโลยีที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ นี้ เป็นส่วนที่ช่วยเปลี่ยนแปลงประสบการณ์การใช้ชีวิตของผู้บริโภคทั่วไป อีกทั้ง บทบาทของความบันเทิงในรูปแบบดิจิตอลนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างพลังบวกและเชื่อมโยงผู้บริโภคเข้าด้วยกัน

ความนิยมของเกมส์และ E-Sports นับเป็นโอกาสของธุรกิจแบรนด์จากตลาดต่างๆ ที่จะร่วมจับมือกับสร้างไอเทมพิเศษในเกมส์ด้วยกันผ่านจากการสร้างสรรค์ออกแบบเกมส์ หรือขายสินค้าควบคู่ไปกับเกมส์อีกที

พื้นที่ที่เต็มไปด้วยความยั่งยืน

การเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ที่ง่ายกว่าสมัยก่อนหลายเท่า ทำให้ผู้บริโภคต้องการที่จะเห็นความโปร่งใสจากแบรนด์ที่พวกเขาใช้บริการ รวมไปถึงวิธีการที่แบรนด์ต่างๆ วางแผนรับมือกับความท้าทายด้านความยั่งยืน

ในปัจจุบัน ผู้บริโภคตระหนักถึงความยุ่งเหยิงของปัญหาที่พวกเราต้องเจอมากขึ้นในทุกๆ วัน นี่จึงเป็นโอกาสของธุรกิจแบรนด์ที่จะเริ่มสร้างและพัฒนานวัตกรรมของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่จะสามารถช่วยบรรเทาผลกระทบจากปัญหาเหล่านั้นต่อชีวิตประจำวันของผู้บริโภค อาทิ การเน้นการผลิตสินค้าผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและการสนับสนุนสังคมเพื่อจูงใจผู้บริโภคให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้ดีขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาและเพื่อผลลัพธ์ต่อสังคมที่ดีกว่าในวงกว้างได้

วิกฤตการณ์จากสื่อดิจิตอล

ในยุคแห่งความไม่แน่นอน เทคโนโลยีได้ก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญมากมายในการช่วยจรรโลงจิตใจแก่ผู้บริโภค เป็นอันที่รู้กันอยู่ว่า เทคโนโลยีถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนเราให้ดีขึ้น ถึงกระนั้น การพิจารณาบทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีต่อความรู้สึกของผู้บริโภคก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ทุกคนควรจะทำการศึกษาวิจัยไว้

E-Commerce และการทำธุรกรรมผ่านช่องทางออนไลน์นั้นมีศักยภาพที่จะกลายเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันของคนยุคปัจจุบัน ดังนั้น ธุรกิจแบรนด์ต่างๆ ควรที่จะใช้ความสามารถจากเทคโนโลยีในโลกดิจิตอลในการวิเคราะห์ผลด้านความต้องการการบริโภคของผู้บริโภค อนึ่งเป็นกี่เชื่อมต่อโลกออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกัน เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่น่าเชื่อถือและต่อเนื่องแก่ผู้บริโภคได้

การนัดสัมภาษณ์กับทีมวิเคราะห์ทั่วโลกของ Mintel Trend สามารถติดต่อได้กับทาง Mintel Press Office กดดาว์นโหลดเพื่ออ่านบทวิเคราะห์สรุปเทรนด์ผู้บริโภคทั่วโลกประจำปี 2564 ที่ต้องติดตามของมินเทลได้ฟรีที่นี่

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเทรนด์อาหารและเครื่องดื่มทั่วโลกประจำปี พ.ศ.2564 ได้ที่นี่ และเทรนด์การดูแลบ้านทั่วโลกได้ที่นี่ สำหรับการนัดสัมภาษณ์ กรุณาติดต่อที่ฝ่ายสื่อข่าวประชาสัมพันธ์ (Press Office)