บล็อก

จากการตระหนักรู้ทางสังคมสู่ความเป็นปึกแผ่น: การสร้างแบรนด์ จากเรื่องของ ‘สิทธิ’ ปัจจัยผลักดันโดย Mintel

มิถุนายน 24th, 2020 | ข่าว Mintel |

People in the United States and around the world have erupted in protest to demand progress in the justice process. Racial equality Most of which are caused by the police and civilians killing the illegal people. This movement has come a long way from the Black Lives Matter’s first claim of justice (founded in 2013 after the murder of Trayvon Martin). With this since 1968 and still use this movement to change and reform democracy And now digital platforms are being used in this regard too Especially the claims through social media that penetrate through various markets and forms For many years, Mintel has analyzed and documented the behavior of claims through consumer broadcasts under the rights trend, which is about rights (one of the driving forces ofGlobal consumer trend 2030 ) is an important lens for the brand to understand the needs of consumers to understand and respond to the point. At this time, the needs of consumer groups to create movement are quite the same. Therefore, the response from the brand (Whether big or small), therefore, must be varied and different in each context in which the consumer responds to that We know that Almost half of consumers in the United States agree on that Brand / company It is responsible for finding a solution to racial inequality, and according to Mintel ‘s research on American values in terms of brand ethics, reports that nearly half of American consumers feel that brands should be the voices of speaking. Social problems

Placing communications, practices and policies in the same direction of the brand

แบรนด์ต่างๆอาจจะรู้สึกกดดันเหมือนตนเองอยู่ในหม้อแรงดันในตอนนี้จากการระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลต่อความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ (ซึ่งเป็นเรื่องที่ชัดเจนในเหตุการณ์อยู่แล้ว) และการประท้วงขณะนี้แทบจะเรื่องของคนทุกคน ไม่ว่าจะในพื้นที่ไหนหรือกลุ่มไหนก็ตาม เป็นเวลาหลายปีที่บริษัทต่างๆพยายามมีการพูดถึงและผลักดันเรื่องมนุษยธรรม (แน่นอนเป็นเรื่องที่ ‘สัมพันธ์กัน’) ผ่านการสื่อสารบนโลกดิจิตอลและโซเชียลมีเดีย ทำให้แบรนด์มีความเข้าถึงง่ายและสามารถสื่อถึงตัวตนของแบรนด์ได้ชัดเจนขึ้น จากนี้แบรนด์จะต้องยอมรับหากพวกเขาต้องการความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภคมากขึ้น สิ่งนี้มักจะมาพร้อมกับความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังต้องเน้นถึงความโปร่งใส แบรนด์มากมายถูกโต้ตอบอย่างรุนแรงและไม่คาดคิดจากการที่ผู้บริโภคต้องการให้เรื่องทุกเรื่องของบริษัทกลายเป็นข้อมูลสาธารณะที่สามารถเข้าถึงได้

สำหรับผู้มีอิทธิพลอย่างครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์ สิ่งสำคัญที่สุดที่เรานึกถึงอาจเป็นสารที่เจ้าตัวสื่อและการเข้าถึงได้ง่ายของสารเหล่านั้น หากคนกลุ่มนี้ใช้โอกาสการประท้วงเพียงแค่จากรูปถ่ายเพื่อให้ภาพลักษณ์ของตนดูดีขึ้นเพียงอย่างเดียว พวกเขาเหล่านี้จะเดือดร้อนจากการไม่ใส่ใจรับรู้ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ผู้ติดตามจะแสดงความคิดเห็นผ่านคอมเมนต์ แช็ตข้อความ หรือ ถูกลงรายชื่อของ ‘คนที่จะเลิกติดตามตอนนี้’ เพราะการกระทำในเชิงลบของพวกเขานั้นเอง เว้นเสียแต่ว่าพวกเขาเชิญชวน ‘เปิดกระเป๋าสตางค์’ (หรือ การรับบริจาค) และการใช้แพลตฟอร์มอย่างชาญฉลาดของเหล่าผู้มีอิทธิพลในการเป็นกระบอกเสียงให้ทุกคนมาช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สะท้อนความรับผิดชอบส่วนตัวของแต่ละคนได้ดี การเข้าถึงการสื่อสารนี้เหล่านี้ (เช่น แช็ตข้อความ กระทู้แสดงความคิดเห็น ฯลฯ) นั้นไม่ควรถูกมองว่าเป็นภัยต่อแบรนด์ แต่เป็นโอกาสที่แบรนด์ต่างรอมาแสนนานที่สามารถรวบรวมความคิดของผู้บริโภคแบบเรียลไทม์ ในมุมกลับกันสำหรับผู้มีอิทธิพล การพูดและแสดงออกมาแต่ละครั้งอาจมีความเสี่ยงต่อตัวบุคคลเองมากกว่าต่อองค์กร อย่างไรก็ตามแม้ผู้บริโภคต่างเห็นว่ามันเป็นความเสี่ยงแต่ยังคงปฏิบัติตามมาตรฐานและความจำเป็นของแบรนด์ ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการลดความเสี่ยงคือ แบรนด์ต้องรับฟังความต้องการของผู้บริโภคอย่างใกล้ชิดโดยยึดมั่นในคุณค่าของแบรนด์เอง ยอมรับหากทำผิดพลาด และรับรู้ว่าทุกอย่างเกิดจากการทำงานรวมกันทั้งภายในและภายนอก

สิ่งที่แบรนด์พิจารณาว่าเป็นภาพลักษณ์หน้าบ้านกับนโยบายปฏิบัติ ‘ลับๆ’ หลังบ้าน จากหน้ามือเป็นหลังมือสองสิ่งถูกรวมกันเป็นหนึ่ง เหตุการณ์นี้อาจนำไปสู่การตอบโต้จากความไม่สอดคล้องของวิธีดำเนินการและนโยบายของแบรนด์ เราเห็นสิ่งนี้กับ บริษัทเสื้อผ้า Everlane ซึ่งตั้งตนเป็นแบรนด์ที่มีจริยธรรมและ ‘ความโปร่งใสสูงส่ง’ แต่ลูกค้ากลับทราบเรื่องราวการรวมตัวประท้วงจากการปฏิบัติไม่ดีต่อพนักงานในหลายรูปแบบ และแม้แต่ Amazon ก็พลอยถูกหางเลขไปด้วย (จากผู้บริโภคและแม้แต่องค์กรอื่นๆ รวมถึง ACLU) กับการแสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจชุมชนคนผิวดำที่หลายคนรู้สึกถึงความเสแสร้ง เพราะมีเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับการปฏิบัติไม่ดีต่อพนักงานบริษัทอีคอมเมิร์ซนี้มากมาย รวมถึงการรับมือและคุ้มครองพนักงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพในช่วงโรคระบาดโควิด-19 อีกด้วย Mark Zuckerberg ประธานบริษัท Facebook ให้คำมั่นว่า “จะบริจาคเงินจำนวน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐแก่กลุ่มที่ทำงานเพื่อความยุติธรรมแก่คนผิวสี” แต่สิ่งนี้กลับทำให้พนักงานหยุดเพื่อไปประท้วงมากกว่าเดิม หรือผู้ใช้บัญชีต่างตอบโต้รุนแรงกับการนิ่งเฉยของการไม่จัดการกับข้อความที่สื่อสารคลาดเคลื่อนบนแพลตฟอร์ม ทั้งที่ปรกติก็มีการจัดการเรื่องการต่อต้านความยุติธรรมทางเชื้อชาติอยู่แล้ว แตกต่างจาก Evan Spiegel  ประธานบริษัท Snapchat ที่ได้ส่งจดหมายถึงพนักงานด้วยข้อความเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับ “พื้นฐานความอคติ ความอยุติธรรม และเชื้อชาติ” ของสหรัฐอเมริกา โดยมีการเรียกร้องให้มีการจัดตั้งกลุ่มอิสระไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด เพื่อเฟ้นหาความจริง การปรองดอง และการพัฒนา”

ความต้องการเฉพาะสำหรับการปฏิบัติที่เจาะจง

ข้อความที่เฉพาะเจาะจงจากการแถลงการณ์ของ Snapchat (และบริษัทอื่นๆ ) มีการถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวาง Mintel เน้นย้ำในเรื่อง ‘สิทธิ’ ที่เป็นปัจจัยผลักดันเทรนด์ ซึ่งตอนนี้บริษัทต่างๆ หาวิธีปรับรูปแบบเรื่องการเมืองข้ามชาติที่จะเกิดขึ้นในอนาคตควบคู่กับเข้าใจจุดประสงค์ของกลุ่มคนคัดค้านเหล่านั้น เรื่องนี้ยังเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับหัวข้อสำรวจของ Mintel Driver หมวด ‘สิ่งแวดล้อม’ ที่พวกเราให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษย์องค์รวม โดยเฉพาะองค์กรเพื่อสังคมในท้องถิ่น การเมือง สังคม วิทยาศาสตร์ และเศรษฐกิจเพื่อขับเคลื่อนทิศทางของนวัตกรรม ดังนั้นการทำความเข้าใจและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค คือการฟังอย่างตั้งใจและกระตือรือร้น นั่นรวมถึงการรวบรวมข้อมูลผ่านหลากหลายช่องทาง และอนุญาตให้เสียงผู้บริโภคมีผลและอิทธิพลต่อกิจกรรมของเรา

เมื่อผู้บริโภคมีความต้องการอย่างหนึ่งและแบรนด์ตอบสนองต่อสิ่งนั้นด้วยอย่างอื่น (ซึ่งอาจเป็นตัวเลือกที่ปลอดภัยกว่าสำหรับแบรนด์) ไม่น่าแปลกหากผู้บริโภคยังคงส่งเสียงและแสดงความไม่พอใจออกมา มันจึงเป็นสิ่งสำคัญที่แบรนด์ต้องรู้ว่าควรปฏิบัติอย่างไรในแต่ละสถานการณ์ โดยไม่คำนึงถึงชื่อเสียงที่มีอยู่และการกระทำเดิมๆของแบรนด์ หากผู้บริโภคกำลังใส่ใจกับเรื่องอะไร พวกเขาก็จะเรียกร้องให้แบรนด์ทำเช่นกัน The 15% Pledge ธุรกิจสตาร์ทอัพที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นมาโดยเจ้าของ Aurora James (ผู้อำนวยการฝ่ายครีเอทีฟของ Brother Vellies) กับการทำงานที่มีจุดประสงค์ชัดเจนและเป็นรูปธรรมในส่วนของหน้าที่ความรับผิดชอบโดยแบรนด์ ไม่ใช่ผู้บริโภค มีบริษัทมากมากเช่น Target Sephora Whole Foods และอื่นๆ ได้ถูกขอให้ลงนามในสัญญา แต่ขณะนี้ยังไม่มีการยืนยันว่าบริษัทเหล่านี้จะลงนามหรือไม่

Nike ที่เรารู้จักกันดีในเรื่องจุดยืนทางสังคมของแบรนด์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่มีการปล่อยโฆษณาและผลักดันในปี 2018 ของ Colin Kaepernick) เป็นชุดโฆษณาที่ออกมาเกี่ยวกับต่อต้านการเหยียดสีผิวในชุด “Don’t Do It ” ข้อความในโฆษณาสื่อความหมายชัดเจนและเฉพาะเจาะจงของตัวมันเอง แต่ผู้รับชมนั้นมีปนไปมาสเปะสะปะ เพราะอะไร? เพราะสิ่งที่ขาดหายไป คือการเรียกร้องให้ลงมือทำจริงกับเรื่องที่เกิดขึ้น – ซึ่ง Nike แบรนด์กีฬานี้ไม่ได้มีการปฏิบัติตามสิ่งที่สื่อสารไปอย่างเป็นรูปธรรม หรือส่งสารให้ผู้บริโภคปฏิบัติสิ่งใดเพื่อเปลี่ยนแปลง แม้ว่าแบรนด์เป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียงที่ดีในการทำตัวเด็ดขาดในแต่ละสถานการณ์ มีผู้บริโภคที่ติดตามแบรนด์มากมาย หรือแม้กระทั่งโฆษณาที่ดูดีเป็นทางการ – ผู้บริโภคยังคงเรียกร้องให้แบรนด์ทำให้ได้อย่างที่พูด แน่นอนว่า Nike ไม่ได้เจ้าเดียวที่มีการส่งสารออกไปแต่ยังไม่มีการปฏิบัติดำเนินการให้เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจในท้องถิ่นนั้น ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสามารถจัดการได้อย่างเยี่ยมยอดในการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีและคุณค่าถึงผู้บริโภคเหล่านั้น

ร้านเบเกอรี่มังสวิรัติในชิคาโก Pie Pie My Darling ใช้อินสตาแกรมของร้านในการโพสต์แสดงข้อความ ต่อต้านการเหยียดผิว และการช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็ก ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนมิถุนายน ยอดขายเบเกอรี่ทั้งหมดของร้านถูกนำไปบริจาคแก่องค์กร Black Lives Matter, Black Visions Collective และ The Chicago Community Bond Fund ซึ่งองค์กรเหล่านี้ช่วยดูแลผลกระทบที่ครอบคลุมระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ อีกทั้งชื่อองค์กรเหล่านี้เป็นชื่อที่ผู้ประท้วงเองก็กำลังเรียกร้องให้อีกด้วย จุดประสงค์ในความเป็นปึกแผ่นของแบรนด์และผู้บริโภคเหล่านี้เป็นบันไดไปสู่กลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในความโปร่งใสและสุจริตต่อไป

ความเป็นปึกแผ่นของแบรนด์และผู้บริโภค

ความเป็นน้ำหนึ่งเดียวกันมันจะเป็นเรื่องที่ง่ายทันที หากแบรนด์ของคุณสามารถตอบความต้องการของลูกค้าที่มักอยู่บนโลกออนไลน์ได้ด้วย -คำพูดและการกระทำ- และจะเกิดอะไรขึ้นหากข้อพิพาทเกิดขึ้นหน้าร้านของคุณ? มันมีเหตุการณ์ที่ทั้งประเทศให้ความสนใจกับบ้านเมืองที่ถูกทำลายในระแวกเดียวกันกับที่ที่มีการประท้วง ตัวอย่างหลักของเหตุการณ์ คือ ณ ร้านTarget Lake Street ในเมือง Minneapolis เหตุการณ์ค่อนข้างซับซ้อน เพราะมีการเมืองที่มีอิทธิพลและการก่อความไม่สงบ (ที่มีการวางแผนแล้วอย่างมีประสิทธิภาพ)มาเกี่ยวข้อง เหตุการณ์เกิดขึ้นเพื่อจะทำลายช่องว่างระหว่างการประท้วงของผู้บริโภคและค้าขายอีกด้วย ซึ่งสองสิ่งนี้เกี่ยวข้องอย่างแยกออกจากกันไม่ได้ Brian Cornell ประธานบริษัท Target ได้ออกมาตอบรับกับเหตุการณ์ที่เน้นถึงการฟื้นตัว การปกป้องพนักงาน และกลุ่มต่างๆ อีกทั้งยังตอบเรื่องอยุติธรรมที่เกิดขึ้นทำให้กลุ่มประท้วงเกิดความไม่พอใจ ในขณะที่ร้านได้ปิดสาขาลงชั่วคราวกว่า 100 สาขา (และมีการปรับเปลี่ยนเวลาทำการในสาขาอื่นๆ) บริษัทไม่ติติงในเรื่องของการประท้วงแม้แต่น้อย กลับกันมันเป็นเรื่องดีที่บริษัทพยายามที่จะเสียงและเข้าใจปัญหาความเจ็บปวดของผู้คนอย่างตั้งใจ อีกทั้งยังเป็นความเข้าใจที่ยกระดับความสัมพันธ์กับลูกค้าที่ไม่ใช่การประณาม แต่เป็นส่งเสริมซึ่งกันและกัน ความเป็นปึกแผ่นนั้นเริ่มจากหน่วยเล็ก อย่างบริษัทที่มีทรัพยากรไม่มากเท่าบริษัทใหญ่ๆ ที่มีความสัมพันธ์แนบแฟ้นกับลูกค้ามากกว่า

พวกเราคิดว่า

Intense listening and meaningful naming have become the criteria for effective brand messaging. When we look into the future with technology to increase efficiency and success in driving social change. Consumers want strong ethics combined with greater equality. (From consumers and consumers themselves), so it’s important for brands to be enthusiastic and discriminatory about the businesses they own in both the online and offline communities. That means that internal and external structure changes Should do to support the relationship and sustainable growth with consumers