บล็อก

Mintel: ผู้บริโภคชาวไทยมองหาแบรนด์ที่จะช่วยให้พวกเขาบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน สุขภาพทางการเงิน และไลฟ์สไตล์เพื่อสุขภาพที่ดีกว่า

เมษายน 5th, 2022 | ข่าว Mintel |

สำหรับรายงานเกี่ยวกับผู้บริโภคชาวไทยปี 2565 ล่าสุดจาก Mintel มีการเน้นย้ำข้อมูลเชิงทัศนคติที่เปลี่ยนไปท่ามกลางหมู่ผู้บริโภคชาวไทยที่มีต่อชีวิตประจำวันของพวกเขา และนำเสนอข้อแนะนำสำหรับแบรนด์ต่าง ๆ ที่ผนวกข้อมูลผู้บริโภค ข้อมูลการตลาดเชิงลึก  และคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่เหล่าแบรนด์จะต้องการเพื่อช่วยผลักดันให้ตนประสบความสำเร็จในตลาดที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลในปัจจุบัน

คุณปองสงวน (วุ้น) จีระเดชากุล รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ในรายงานของผู้บริโภคชาวไทยและชาวอินเดีย กล่าวว่า:

เหตุการณ์ในช่วงสองปีที่ผ่านมาได้ทิ้งรอยแผลและผลกระทบต่อชีวิตในด้านต่าง ๆ มากกว่าที่เราได้คาดการณ์เอาไว้ แม้โรคระบาดจะเป็นเชื้อเพลิงที่เร่งการเติบโตในส่วนของโลกดิจิทัลและตลาดออนไลน์ มันกลับเป็นหนึ่งอุปสรรคสำหรับผู้บริโภคชาวไทยที่พยายามหาวิธีในการบริโภคอย่างยั่งยืน

“แม้โรคระบาดใหญ่จะนำไปสู่ปัญหาทางการเงินในประเด็นต่าง ๆ เช่น หนี้สินครัวเรือน การว่างงาน ฯลฯ หากมองในอีกมุมหนึ่ง ผู้บริโภคชาวไทยได้กลับมาให้ความสำคัญกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของตนมากขึ้น นอกจากนั้นผู้บริโภคเพศหญิงยังเข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการใช้งานของอีคอมเมิร์ซและบริการด้านอาหารอีกด้วย”

กระตุ้นชาวไทยให้ใส่ใจในสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

จากผลการวิจัยล่าสุดของ Mintel แสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคชาวไทยประมาณ 82% พยายามทำตัวไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการอัตราการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์และบริการจัดส่งสินค้าที่มีมากขึ้น อย่างเช่น การสร้างของเสีการปล่อยก๊าซพิษ และการบริโภคที่มากเกินไป ได้ขัดต่อความปรารถนาของผู้บริโภคชาวไทยที่ต้องในการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

คุณวุ้นยังกล่าวอีกว่า “แบรนด์ควรที่จะลดข้อความที่สื่อถึงเรื่องความสะดวก ประโยชน์ต่อสุขภาพ และความคุ้มค่าลงบ้าง โดยหันมาสื่อสารข้อความเกี่ยวกับผลกระทบเชิงบวกที่เกิดจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนบนดีไซน์บรรจุภัณฑ์หรือโซเชียลมีเดียให้มากขึ้น เพื่อชักชวนคนไทยให้นำมาประยุกต์ใช้ซึ่งวิถีแห่งความยั่งยืน

ช่วยผู้บริโภคให้มีสุขภาพทางการเงินที่ดี

หนี้สินครัวเรือนส่วนใหญ่กำลังกดดันฐานการเงินของชาวไทย ส่งผลให้สถานการณ์มีท่าทีที่จะแย่ลงเรื่อย ๆ จากอัตราการว่างงานและรายได้ที่ลดลงของประชากร ผลการวิจัยของ Mintel พบว่า แม้ว่าผู้บริโภคชาวไทยส่วนใหญ่ (73%) จะให้ความสำคัญกับกองทุนฉุกเฉิน แต่เรื่องของหนี้สินยังคงเป็นปัญหากวนใจ โดยพบว่าชาวไทย (52%) ที่อาศัยอยู่ในชนบท มักให้ความสำคัญในเรื่องการจ่ายค่าหนี้สิน

“ผลงานวิจัยของเรายังพบอีกว่า ผู้บริโภคชาวไทยจะสามารถมีฐานะทางการเงินที่ดีขึ้นได้ หากเรามีเครื่องมือช่วยเหลือในเรื่องการเงินและชำระหนี้ที่ดีพอ ในการนี้แบรนด์สามารถช่วยพวกเขาได้ด้วยผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินที่ช่วยส่งเสริมความรับผิดชอบและวินัยในการใช้จ่ายอย่างมีเหตุผลมากขึ้นได้”

จริง ๆ แล้วมันยังมีความต้องการอีกมากในการพัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเงินในหมู่คนไทย และหากใครก็ตามที่กำลังเผชิญปัญหาด้านการเงิน แม้จะเป็นกลุ่มที่มีรายได้น้อยก็ตาม คำแนะนำด้านการลงทุนไม่ว่าจะแบบดั้งเดิมหรือแบบใหม่อย่างสินทรัพย์ดิจิทัลเองสามารถเป็นตัวช่วยในการจัดการการวางแผนทางการเงินให้ไปต่อได้” คุณวุ้นกล่าว

ช่วยคนไทยให้ใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น

ปัจจุบันผู้บริโภคชาวไทยจำนวน 4 ใน 5 (81%) มีความกังวลเกี่ยวกับอาหารการกิน การใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่า และการจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้น โดยผลการวิจัยล่าสุดจาก Mintel แสดงให้เห็นว่า กว่า 60% ของผู้บริโภคชาวไทยตั้งใจที่อยากจะรักษาสุขภาพของตน ไม่ว่าจะจากการบริโภคอาหารที่ดีหรือการดื่มเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เช่น เครื่องดื่มเสริมกำลังที่เสริมวิตามิน ฯลฯ ถึงกระนั้น การไม่มีเวลา ความไม่สะดวกที่เกิดขึ้น และรสชาติอาหารที่ไม่ถูกปากต่างสามารถเป็นอุปสรรคที่มาขัดขวางความตั้งใจในการมีสุขภาพดีของผู้บริโภคได้เช่นกัน

คุณวุ้นได้กล่าวต่ออีกว่า “แบรนด์เองสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในจุดนี้ได้ด้วยการช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกลุ่มผู้บริโภคแต่ละช่วงอายุ ด้วยการอธิบายเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์หรือบริการของตนว่าจะช่วยแก้ปัญหาแต่ละส่วนของผู้บริโภคอย่างไรได้บ้าง นอกจากนั้นยังเป็นการเปิดโอกาสให้แก่แบรนด์ในการรังสรรค์นวัตกรรมที่บริโภคได้ในยุคที่ผู้บริโภคเต็มใจจ่ายเงินแพงขึ้นเพื่อสุขภาพที่ดีกว่าอีกด้วย

ขับเคลื่อนด้วย ‘ she-economy ‘ พลังผู้หญิงเปลี่ยนโลกเศรษฐกิจ

รายงานผู้บริโภคชาวไทยปี 2565 ระบุเหตุผลสำคัญ 2 ประการว่าทำไม ‘She-economy’ ในประเทศไทยถึงกำลังมาแรง ประการแรก ในช่วงที่เกิดการระบาดใหญ่ ผู้บริโภคเพศหญิงมีบทบาทสำคัญในการดันยอดอีคอมเมิร์ซของตลาดให้พุ่งสูงด้วยการเป็นผู้ซื้อสินค้าและบริการจัดส่งอาหารบนแพลตฟอร์มออนไลน์และแอปพลิเคชันเป็นประจำ ประการที่สอง ความตระหนักในเรื่องพลังผู้หญิงและความเท่าเทียมทางเพศโดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภค Gen Z และสาวยุคมิลเลนเนียลที่จะมาขับเคลื่อนการเลือกซื้อสินค้าประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะแนวคิดเรื่องความงามตามธรรมชาติเพื่อคุณค่าและความมั่นใจในตัวเองที่เป็นประเด็นสำคัญสำหรับผู้บริโภคสตรีกว่าครึ่งหรือ 51% ที่เปิดโอกาสให้แบรนด์ต่าง ๆ ผลักดันและสนับสนุนประเด็นความงามและประสบการณ์ในเชิงบวกสำหรับผู้หญิง

“ในขณะที่ลูกค้าเพศหญิงหันไปซื้อสินค้าในช่องทางออนไลน์และบริการส่งอาหารมากขึ้นในช่วงการระบาดใหญ่ ความกังวลเรื่องไลฟ์สไตล์ตั้งแต่เรื่องของสุขภาพไปจนถึงการเงินในแต่ละช่วงอายุได้มีความแตกต่างกันออกไป โดยแบรนด์ต่าง ๆ สามารถปรับแต่งข้อเสนอของตนให้ตรงตามความต้องการเฉพาะเหล่านั้นได้ ซึ่งมันไม่เพียงจะช่วยยกระดับประสบการณ์การช้อปปิ้งออนไลน์แก่ลูกค้าสตรี แต่ยังสนับสนุนให้เกิดพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์บ่อยขึ้นได้อีกด้วย”

“ยิ่งไปกว่านั้น ความตระหนักในเรื่องความเท่าเทียมทางเพศที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคเพศหญิงต้องการส่งเสริมแบรนด์ที่สะท้อนความเชื่อส่วนตัวส่วนตัวรวมไปถึงความเป็นตัวของตัวเองในปัจจุบัน แบรนด์ที่มีค่านิยมสอดคล้องกับคุณค่าที่คู่ควรของผู้หญิงจะสามารถทำการโปรโมทข้อความสื่อหรือเคมเปญที่เกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังถือว่าเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างแบรนด์และลูกค้าที่จะนำมาซึ่งการสนับสนุนจากสาวขาช้อปยุคใหม่ได้เช่นกัน

รายงานผู้บริโภคชาวไทยปี 2565 ของ Mintel พร้อมให้ดาวน์โหลดฟรีแล้วที่นี่

หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือนัดเพื่อพูดคุยกับทีมนักวิเคราะห์ของเรา กรุณาติดต่อ Mintel Press Office ที่ press@mintel.com