บล็อก

ฮอตสปอต: ส่องเทรนด์ธุรกิจติดอันดับเดือนกันยายน 2021

ตุลาคม 14th, 2021 | ข่าว Mintel |

ฮอตสปอตขอนำท่านร่วมติดตามเทรนด์ของผลิตภัณฑ์และบริการใหม่จากทั่วโลกกับทีม Mintel Trends อีกเช่นเคย ในเดือนนี้จะเริ่มจาก  โปรแกรมที่ถูกออกแบบมาพลิกโฉมกระบวนการรีไซเคิลขยะซอสแบบซองจากจุดจบที่หลุมผังขยะมาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ไปจนถึงแบรนด์น้ำดื่มบรรจุขวดที่สร้างน้ำดื่มจากความชื้นในอากาศ มาติดตามสุดยอดนวัตกรรมระดับโลกที่เกิดขึ้นในเดือนนี้กัน

ซองซอสรีไซเคิล – ประเทศสหรัฐอเมริกา

Taco Bell จับมือกับบริษัทรีไซเคิล TerraCycle ในการนำเสนอแนวทางการรีไซเคิลใหม่สำหรับซองซอสที่ใช้แล้ว โปรแกรมนี้จัดขึ้นและต้องการชักเชิญลูกค้าของ Taco Bell มาสร้างบัญชีกับ TerraCycle เพื่อรวบรวมซองซอสที่ใช้แล้วและปริ้นฉลาก TerraCycle เพื่อการจัดส่งซองซอสเหล่านี้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการนำไปรีไซเคิล โปรแกรมนี้ถูกออกแบบมาเพื่อเปลี่ยนปลายทางของซองซอสใช้แล้วนี้จากการเป็นขยะในหลุมฝังมาเป็นสินค้าที่สามารถรีไซเคิลได้โดยที่ลูกค้าไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดซองซอสให้สะอาดเอี่ยมก่อนส่งรีไซเคิล

การรีไซเคิลนั้นเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและแบรนด์ต่างมองหาวิธีใหม่ๆ ในการจัดการกับสินค้าที่ยากต่อการรีไซเคิลอยู่เนือง ๆ ความท้าทายของโปรแกรมนี้คือการที่ผู้บริโภคจะต้องแบกความรับผิดชอบที่มีหลายขั้นตอนมากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นการดาวน์โหลดแอปเฉพาะและพิมพ์ฉลากจัดส่งเพื่อให้ครบขั้นตอนในการรีไซเคิลสินค้าของแบรนด์อย่างสมบูรณ์ ในขณะที่แบรนด์เองก็พิจารณาโครงการเกี่ยวกับการรีไซเคิลนี้ว่าควรเป็นอย่างไรต่อ พวกเขาเองได้จับจ้องกลุ่มเป้าหมายอย่างผู้บริโภคยุคใหม่ที่มีความน่าสนใจแก่การเชิญชวนเข้ากิจกรรม แม้ในช่วงโรคระบาดจะส่งผลให้ผู้บริโภคเริ่มทำงานที่บ้านมากขึ้นทำให้มีกลุ่มคนจำนวนมากที่ไม่ได้เป็นเจ้าของหรือครอบครองเครื่องปริ้นที่บ้าน อ้างอิงข้อมูลของ Mintel ชี้ให้เห็นว่าครึ่งหนึ่งของพนักงานที่ทำงานที่บ้านในประเทศสหรัฐฯ มีเครื่องปริ้นเป็นของตัวเองที่บ้าน ในขณะที่ผู้บริโภคอายุระหว่าง 18-34 ปีกลับมีสัดส่วนของคนเป็นเจ้าของเครื่องปริ้นลดลงและเหลือน้อยกว่า 2 ใน 5 นั่นหมายความว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่จะต้องจัดหาเครื่องพิมพ์สำหรับกิจกรรมรีไซเคิลนี้ อย่างน่าเสียดายปัญหานี้ส่งผลให้กลุ่มคนจำนวนไม่น้อยไม่สามารถบรรลุขั้นตอนในการรีไซเคิลขยะตามที่แบรนด์คาดหวังให้เสร็จสมบูรณ์ได้

– Diana Kelter, Senior Trends Analyst, US

จากอากาศสู่แก้วน้ำใหม่ของคุณ – ประเทศชิลี

น้ำดื่มบรรจุขวดแบรนด์ใหม่จากความชื้นในอากาศเปิดตัวในประเทศชิลีแล้ว น้ำดื่มแบรนด์ AWA นำความชื้นในอากาศมาบรรจุลงในขวดภายใต้การผลิตบรรจุภัณฑ์ของ Tetra Pak โดยได้รับการเปิดตัวจากบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนอย่าง Lader Energy ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ทดแทน 100% ในขั้นตอนการผลิตต่าง ๆ โดยในกระบวนการการผลิตนี้ได้รวบรวมการผลิตไฟฟ้าจากแสงที่ตกกระทบลงบนวัตถุและการดูดความร้อนจากแสงอาทิตย์มาแปรเปลี่ยนพลังงานให้เป็นพลังงานไฟฟ้าใหม่ผ่านแผงไฮโดรที่มาจับความชื้นในชั้นบรรยากาศผ่านการควบแน่น จากนั้นนำน้ำที่ได้มาทำความสะอาดด้วยการกรองและเติมแร่ธาตุก่อนบรรจุลงในขวดพร้อมจำหน่าย

เพราะการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศได้พิสูจน์ให้ผู้คนเห็นแล้วว่าส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากมายในปัจจุบัน ผู้บริโภคต่างเริ่มตระหนักและกังวลเกี่ยวกับปัญหาความยั่งยืนในหลายมุมมองที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และแม้วัสดุที่ใช้ในบรรจุภัณฑ์และขยะพลาสติกจะเป็นศูนย์กลางปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เรามักพบเห็นกันอยู่บ่อยครั้ง ผู้บริโภคเองก็พยายามที่จะหาวิธีต่าง ๆ มากมายที่จะมาลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากปัญหาเหล่านี้ ปัจจุบันเรื่องราวของแหล่งพลังงานหมุนเวียนกำลังเป็นที่นิยมและพูดถึงในวงกว้าง ด้วยความกังวลเกี่ยวกับปัญหามลภาวะต่าง ๆ ทำให้ผู้คนมากมายต้องการเชื่อมโยงกับนโยบายหรือสิ่งควรทำเพื่อลดการปล่อยมลพิษจากผลิตภัณฑ์ของแต่ละแบรนด์ด้วยเช่นกัน

– Dana Macke, Director of Trends, Americas

อย่าเรียกว่า ‘ไวท์เทนนิ่ง’ เลย – ประเทศญี่ปุ่น

Kao แบรนด์ความงามยักษ์ใหญ่ของประเทศญี่ปุ่นได้มีการประกาศยกเลิกการใช้คำ ‘bihaku’ (การทำให้ผิวขาว หรือ ไวท์เทนนิ่ง ) ออกจากผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของบริษัทในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยแบรนด์ความงามมีความมุ่งหมายที่จะเริ่มใช้วลีอื่นอย่างเช่น ‘ความกระจ่างใส’ เพื่อตอบสนองต่อความสนใจของผู้บริโภคที่ต้องการมีผิวที่มีสุขภาพดีและสวยกว่าเดิม โดย Kao ยังได้ประกาศแผนในการออกไลน์ผลิตภัณฑ์รองพื้นใหม่ที่จะมาพร้อมเฉดสีที่แตกต่างจากเดิมกว่า 20 เฉดด้วยกันเพื่อตอบโจทย์สีผิวของผู้บริโภคที่มีความหลากหลายมากขึ้นในตอนนี้

ในขณะที่ผู้บริโภคเริ่มตระหนักถึงปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้นมีความหลากหลายมากขึ้น ผู้บริโภคจำนวนมากขึ้นเริ่มมีความคิดต้องการให้บริษัทหรือแบรนด์แสดงความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์ของตัวเองมากขึ้น เนื่องจากมีแบรนด์ความงามมากมายที่มักนำและเชิดชูมาตรฐานความงามแบบยุโรปมาเป็นจุดขายหลักตั้งแต่ในอดีตส่งผลให้ความหลากหลายในผู้คนกลายเป็นปัญหาแสนละเอียดอ่อนที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามเมื่อนักกีฬาลูกครึ่งผิวสีคนดังอย่าง Naomi Osaka มีชื่อเสียงเป็นที่ประจักษ์และยอมรับมากขึ้นทั้งในประเทศ เธอแสดงให้เห็นว่าประชากรญี่ปุ่นไม่ได้มีแค่คนรูปแบบเดียวเท่านั้น เพราะหากเราได้เข้าศึกษาประชากรในกลุ่ม Gen Z อย่างถี่ถ้วนจะพบว่ามีประชากรที่เป็นลูกครึ่งจำนวนมากขึ้นอีกด้วย ฉะนั้นแบรนด์จำเป็นต้องสื่อสารข้อความให้ครอบคลุมแก่ทุกกลุ่มผู้ผู้บริโภคที่มีความหลากหลายในสังคมมากขึ้น ถึงแม้ผู้บริโภคยังคงชื่นชอบในผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้ ‘ผิวขาว’ ในการลดปัญหาสีผิวและจุดด่างดำ บริษัท Kao ตัดสินใจที่จะแทนที่คำที่เจาะจงเหล่านั้นมาเป็นคำที่มีการนิยามด้วยความหมายทั่วไปมากขึ้นที่เหมาะสำหรับทุกคนแถมยังตอบโจทย์ความต้องการทางออกแก่ปัญหาผิวต่างๆ ของผู้บริโภค และยังเพื่อเป็นก้าวเล็ก ๆ แห่งการพัฒนาสู่การปูทางแบบอย่างให้แก่แบรนด์อื่นในการปฏิบัติตนเพื่อยอมรับความหลากหลายใหม่ที่เกิดขึ้นในสังคมญี่ปุ่นมากยิ่งขึ้น

– Victoria Li, Trends Analyst, APAC

พรีออเดอร์และบันทึกไว้ – ประเทศนอร์เวย์

แบรนด์เสื้อผ้า Famme เปิดตัวการขายเสื้อผ้าแบบ ‘สั่งตัด’ เพื่อให้ผู้บริโภคมีทางเลือกที่จะบริโภคด้วยแนวคิดยั่งยืนมากขึ้นและยังมีส่วนของกิจกรรมที่ให้เหล่าผู้บริโภค ‘โหวต’ รูปแบบเสื้อผ้าที่พวกเขาต้องการจะซื้อบนเว็บไซต์ของแบรนด์อีกด้วย ซึ่งผู้บริโภคสามารถเริ่มจากการกดจองและ ‘โหวต’ เสื้อผ้าที่พวกเขาต้องการได้ หลังจากนั้น Famme จะทำการผลิตเสื้อผ้าตามจำนวนที่ลูกค้าได้จองเข้ามา การทำธุรกิจในรูปแบบนี้จะช่วยให้แบรนด์ผลิตเสื้อผ้าตามที่ผู้บริโภคต้องการ โดยสามารถลดการสิ้นเปลืองทรัพยากรโดยไม่จำเป็นได้อย่างสิ้นเชิง ทางแบรนด์ยังมีการมอบส่วนลดอย่างน้อย 50% จากราคาเต็มและบริการจัดส่งฟรี เพียงลูกค้าจองเสื้อผ้าก่อนที่จะมีสินค้าในสต็อกของ Famme เท่านั้น

ในตอนนี้ Fast Fashion มักถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นสินค้าที่สนับสนุนการซื้อขายที่มากเกินไป ไม่เพียงแต่สิ้นเปลืองทรัพยากรแต่ยังก่อให้เกิดมลพิษและปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศอย่างต่อเนื่อง สินค้าที่ถูกผลิตในปริมาณมากและขายไม่ได้มักจะจบลงที่การนำไปฝังกลบเป็นขยะ โดยพวกเรามักเห็นแบรนด์มากมายที่ถูกแบนหรือคว่ำบาตรจากการทำลายเสื้อผ้าที่ขายไม่ออกอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งการเรียกร้องให้อุตสาหกรรมแฟชั่นมีแนวทางปฏิบัติที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เสื้อผ้าแบบสั่งตัดจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยให้แบรนด์สามารถประหยัดทรัพยากรและลดของเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงช่วยให้ผู้บริโภคได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างผลิตภัณฑ์ที่รักษ์โลกได้เช่นกัน

– Liisa Kontas. Trend Analyst, Nordic

สร้างเมืองสีเขียว – ประเทศฟิลิปปินส์

South Coast City เป็นเมืองขนาดย่อมที่มีการพัฒนาพื้นที่ริมน้ำให้กลายเป็นศูนย์กลางแห่งการพักผ่อนและการค้า โดยมีอาคารสูงระฟ้าและพื้นที่สีเขียวผสมผสานกันอย่างลงตัว ไฮไลท์ของพื้นที่อสังหาริมทรัพย์แห่งนี้คือพื้นที่สีเขียวแบบเปิดที่มีสวนสาธารณะขนาด 1 เฮกตาร์, ศูนย์การประชุม, จุดเชื่อมต่อสถานที่แสนสะดวกและตัวเลือกในการต่อรถหรือระบบการเดินทางภายใต้ระบบขนส่งสาธารณะอีกมากมาย นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาระบบการเดินเท้าและรถสำหรับการเดินทางไปศูนย์การค้าด้วยที่ขนาดทางเดิน 4,000 ตร.ม. ซึ่งการพัฒนาสิ่งปลูกสร้างเหล่านี้เปี่ยมไปด้วยวิสัยทัศน์ที่ต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างโอกาสในการจ้างงานให้แก่ชาวฟิลิปปินส์จำนวนมากนั่นเอง

ตั้งแต่เริ่มมีการระบาดครั้งใหญ่ ผู้คนถูกจำกัดให้อยู่แต่ภายในบ้านมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้หลายคนตกอยู่ในสภาวะเครียดและโดดเดี่ยวเดียวดาย การผนวกพื้นที่สีเขียวและระบบทางเท้าที่ปลอดภัยและเหมาะกับการเดินแก่ผู้คนในย่านการค้านี้ได้เอื้อประโยชน์แก่ผู้อยู่อาศัยในเมืองที่สามารถใช้เวลากลางแจ้งได้มากขึ้น โดยเชื่อกันว่าการอยู่ท่ามกลางธรรมชาติจะช่วยส่งเสริมสุขภาพจิต อีกทั้งโครงสร้างที่ส่งเสริมการเดินและปั่นจักรยานในที่แห่งนี้จะสนับสนุนให้ผู้คนมีสุขภาพร่างกายที่ดีในขณะเดียวกันก็ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศอีกด้วย

– Melanie Nambiar, Trends Analyst, Southeast Asia