บล็อก

ทวีปเอเชียกับการขยายตัวของตลาดอาหารสำรองในยามฉุกเฉิน

เมษายน 22nd, 2022 | ข่าว Mintel |

การระบาดใหญ่ของโควิด-19 และภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มักเกิดเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ทำให้ความสนใจต่อกลุ่มอาหารสำรองที่ถูกออกแบบมาให้เก็บรักษาได้นานสำหรับกักตุนในยามฉุกเฉินเพิ่มสูงขึ้น โดยเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเผยให้เห็นความเปราะบางของผู้บริโภคที่มีต่อการเตรียมรับมือกับภัยพิบัติ ซึ่งรวมถึงปัญหาห่วงโซ่อุปทาน การขาดแคลนอาหารในวงกว้าง และการซื้อด้วยความตื่นตระหนก ฉะนั้นหนึ่งบทเรียนที่ผู้บริโภคได้เรียนรู้จากการเกิดการระบาดใหญ่คือ การตุนอาหารและเครื่องดื่มที่จำเป็นและการเตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์ไม่คาดฝันนั่นเอง และนี่คือการสร้างโอกาสใหม่ให้กับแบรนด์ในตลาดเอเชียโดยเฉพาะ

งานวิจัยจาก Mintel Global Consumer พบว่า 82% ของผู้บริโภคชาวจีนกล่าวว่า หลังจากที่ได้ประสบเหตุการณ์โรคระบาดโควิด-19 พวกเขามีการเตรียมพร้อมสำหรับเหตุฉุกเฉินในอนาคต ในขณะเดียวกันงานวิจัยจาก Columbia Climate School National Center for Disaster Preparedness เปิดเผยว่าครัวเรือนส่วนใหญ่ในสหรัฐฯ ไม่มีแผนและอุปกรณ์ที่เพียงพอสำหรับการเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นได้

อาหารสำรองฉุกเฉินเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มักไม่ค่อยถูกให้ความสนใจแต่กลับมีโอกาสในการเติบโตสูง สืบเนื่องจากอัตราความต้องการอาหารดังกล่าวที่มักพบได้ในช่วงต่าง ๆ เช่น ช่วงการแพร่ระบาดใหญ่ ช่วงการเกิดภัยธรรมชาติ หรือแม้แต่ในช่วงที่มีปัญหาเกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทานมีการขาดแคลน โดยแบรนด์ต่าง ๆ สามารถใช้โอกาสนี้ในการดึงดูดผู้บริโภคผ่านการให้ความรู้เกี่ยวกับความจำเป็นในการเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น รวมไปถึงการที่อาหารสำรองในยามฉุกเฉินเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการเก็บนานและง่ายต่อการจัดเก็บในบ้านอีกด้วย

คุณค่าทางโภชนาการเป็นเรื่องสำคัญ

ผลิตภัณฑ์ที่มอบคุณค่าทางสารอาหารในภาวะฉุกเฉินสามารถช่วยสร้างเสริมสุขภาพที่ดีแก่ผู้บริโภคได้ ยกตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อการอยู่รอดในยามฉุกเฉิน (ประเทศญี่ปุ่น) ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสร้างความสมดุลของปริมาณสารอาหารอย่างมีประสิทธิภาพให้แก่ร่างกายในช่วงที่อาจขาดมันไประหว่างการเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน

นอกจากนี้ ยังมีอาหารที่ทำขึ้นเป็นพิเศษสำหรับกลุ่มผู้บริโภคเฉพาะที่เป็นที่ต้องการสูงเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น อาหารฉุกเฉินสำหรับทารก ผู้สูงอายุ และผู้ที่แพ้อาหารและมีข้อจำกัดด้านอาหาร ด้วยเหตุผลที่ว่าผู้บริโภคกลุ่มนี้มีความต้องการเฉพาะและยากต่อการดูแลนั่นเอง

มอบตัวเลือกผลิตภัณฑ์ที่กินง่ายและสะดวกกว่า

ในขณะที่ระบบสาธารณูปโภคอาจหยุดให้บริการในยามเกิดเหตุฉุกเฉิน กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ไม่ต้องปรุง ผลิตภัณฑ์ที่มาพร้อมกับช้อนส้อมแบบใช้แล้วทิ้ง ผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์ที่สามารถทำความร้อนได้เอง หรือแม้แต่ผลิตภัณฑ์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันการสัมผัสอาหารโดยตรง ปัจจัยทั้งหลายเหล่านี้ได้แปลมาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับอาหารฉุกเฉิน เช่น สินค้าข้าวแกงกะหรี่ญี่ปุ่นโดยบริษัท Forica Foods ในแพคเกจจิ้งถ้วยร้อน (ญี่ปุ่น)

อายุการเก็บรักษานาน

ในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้บริโภคกว่า 1 ใน 3 เห็นด้วยว่า “ผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการเก็บรักษานาน” มีความสำคัญมากขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และสิ่งนี้ได้เพิ่มโอกาสให้แบรนด์ต่าง ๆ พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีอายุการเก็บรักษานานมากยิ่งขึ้น เพราะในช่วงเกิดเหตุฉุกเฉินอาหารเหล่านี้จะต้องพร้อมกักตุนบนชั้นวางและสามารถกินได้เลยแม้ไม่สามารถใช้ตู้เย็นหรือตู้แช่แข็งได้ อีกทั้งเพื่อประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บและสามารถพกพาได้เมื่อจำเป็น สินค้าที่มีน้ำหนักเบาและไม่ใหญ่เทอะทะจึงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า เช่น Mountain House (สหรัฐอเมริกา) ที่ได้มีการขยายอายุผลิตภัณฑ์อาหารฟรีซดรายทั้งหมดให้มีอายุถึง 30 ปีด้วยกัน